วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

9 สัญญาณอันตรายของอาการปวดศรีษะ

สังเกต 9 สัญญาณอันตรายของอาการปวดศีรษะ!

อาการพื้นฐานที่น่าเป็นห่วง


 
       อาการ "ปวดศีรษะ" นับเป็นหนึ่งในอาการพื้นฐานของทุกคนในบ้านที่เป็นกันได้บ่อย ไม่ว่าจะปวดศีรษะจากความเครียด เช่น ลูกดื้อ ไม่เชื่อฟัง ปัญหาด้านการเงิน รวมไปถึงปัญหาอื่น ๆ แต่ยังมีอาการปวดศีรษะบางประเภทที่เป็นอันตรายจนอาจทำให้คนในบ้านถึงแก่ชีวิตได้
      
       สุดสัปดาห์นี้ มีข้อมูลที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์จากศูนย์สมอง และระบบประสาท โรงพยาบาลเวชธานีเกี่ยวกับสัญญาณอันตรายของอาการปวดศีรษะมาส่งต่อกัน สำหรับใครที่ปวดหัวบ่อย ๆ ลองสังเกต 9 สัญญาณอันตรายที่จะกล่าวต่อไปนี้กันดู เริ่มจาก
      
       1. โรค และอาการเจ็บป่วยทางกายอื่นๆ ที่เกิดร่วมกับอาการปวดศีรษะ เช่น มีไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกตอนกลางคืน ปวดกล้ามเนื้อ น้ำหนักลด มีประวัติโรคมะเร็ง การติดเชื้อ หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เอชไอวี ผู้ที่รับประทานยาบางประเภท เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาละลายลิ่มเลือด ยาลดภูมิคุ้มกัน ประวัติเหล่านี้บ่งบอกถึงโรคติดเชื้อ การอักเสบ และการแพร่กระจายของมะเร็ง
      
       2. อาการแสดงผิดปกติทางระบบประสาท ได้แก่ พฤติกรรม หรือบุคลิกภาพเปลี่ยนจากเดิม แขนขาอ่อนแรง ชา หรือการรับรู้ประสาทสัมผัสผิดปกติ การมองเห็นหรือการได้ยินผิดปกติ
      
       3. อาการปวดศีรษะที่เริ่มต้นหลังตื่นนอน มักบ่งบอกถึงภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงกว่าปกติ
      
       4. อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นรุนแรงอย่างเฉียบพลัน ซึ่งมักใช้เวลาเป็นเสี้ยววินาที บ่งบอกถึงภาวะวิกฤตของหลอดเลือดสมอง ทั้งเส้นเลือดสมองตีบ และแตก
      
       5. อาการปวดศีรษะครั้งแรกหลังอายุ 50 ปี แม้ว่าโรคปวดศีรษะปฐมภูมิหลาย ๆ ชนิดอาจเริ่มต้นครั้งแรกหลังอายุ 40-50 ปี แต่อายุที่มากขึ้นมักสัมพันธ์กับโรคอื่นๆ ที่อาจจะเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะได้ เช่น ก้อนเนื้องอก การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง การอักเสบของหลอดเลือด ดังนั้นใครที่มีอาการปวดศีรษะครั้งแรกหลังอายุ 50 ปี จึงควรได้รับการเอกซเรย์สมองทุกราย ถึงแม้ว่าจะไม่พบความผิดปกติจากการตรวจร่างกายทางระบบประสาท
      
       โรคปวดศีรษะปฐมภูมินั้น ไม่ใช่อาการปวดศีรษะที่มีผลจากการรับยา แต่เป็นการปวดศีรษะจากความเครียด ไมเกรน อาการปวดหัวแบบผสม และปวดแบบชุด ๆ

       6. ลักษณะอาการปวดศีรษะต่างจากอาการปวดศีรษะที่เป็นประจำ โดยเฉพาะอาการปวดศีรษะที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ไม่มีช่วงเวลาหายปวด หรือมีความถี่และความรุนแรงมากขึ้น
      
       7. อาการปวดศีรษะที่แย่ลงเมื่อไอจามหรือเบ่ง มักสัมพันธ์กับความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้นเช่นกัน
      
       8. อาการปวดศีรษะที่แย่ลง เมื่อมีการเปลี่ยนท่าทาง เช่น ปวดมากขึ้นเมื่อยืน นอน หรือเมื่อมีการเคลื่อนไหวของศีรษะและคอ อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบน้ำในโพรงสมองและไขสันหลัง หรือกระดูกต้นคอ
      
       9. อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นข้างเดียวตลอดเวลา หรือมักปวดบริเวณด้านหลังของศีรษะ แสดงถึงพยาธิสภาพที่อาจเกิดอยู่บริเวณนั้นของศีรษะ หากเป็นอาการปวดศีรษะทั่วไปมักมีการสลับข้างซ้ายขวาบ้าง แต่มักพบว่า จะปวดข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้าง
      
       ท่านใดที่มีอาการปวดศีรษะอยู่แล้ว หรือปวดศีรษะครั้งแรกแล้วมีสัญญาณอันตรายดังที่ได้กล่าวข้างต้น ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน ถึงแม้อาการของโรคปวดศีรษะจะไม่เป็นอันตราย แต่การรักษาอย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้ ทางที่ดีควรหมั่นสังเกตสัญญาณอันตราย หรือความผิดปกติที่เกิดขึ้น นั่นจะช่วยให้การวินิจฉัย และรักษาโรคได้ทันท่วงที





ที่มา : หนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ

โรคมือเท้าปาก


การวินิจฉัยโรคมือเท้าปาก
ใช้การวินิจฉัยตามอาการ ส่วนการตรวจหาเชื้อสาเหตุนั้น โดยการเพาะแยกเชื้อไวรัสจากอุจจาระ หรือ throat swab หรือ nasal washing หรือ nasal aspiration ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ควบคู่กับการตรวจทางน้ำเหลือง (serology) ในตัวอย่างเลือด acute และ convalescent serum เพื่อดู antibody ต่อเชื้อที่เป็นสาเหตุ 
การรักษาโรคมือเท้าปาก
ไม่มีการรักษาเฉพาะโดยมากรักษาตามอาการ โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องให้ยารักษาจำเพาะ เพียงแต่ให้การดูแลตามอาการ และเฝ้าติดตามอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ดังนี้
  •  ให้ยาลดไข้ พาราเซตามอล เป็นครั้งคราวเวลา มีไข้สูง  ห้ามให้ aspirin
  • ดื่มน้ำให้พอ ให้เด็กดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ โดยสังเกตดูว่ามีปัสสาวะออกมากและใส จึงนับว่าได้น้ำพอเพียง
  • ในช่วงที่มีอาการเจ็บแผลในปาก ให้เด็กกินอาหารเหลวหรือของน้ำๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด นม น้ำเต้าหู้ น้ำหวาน โดยใช้ช้อนป้อนหรือใช้กระบอกฉีดยา ค่อยๆ หยอดเข้าปาก ไม่ควรให้เด็ก (โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ) ดูดนมหรือน้ำจากขวด เพื่อบรรเทาอาการเจ็บในปาก อาจใช้วิธีให้เด็กอมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ ดื่มน้ำหรือนมเย็นๆ กินไอศกรีม
  • บ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ (ผสมเกลือป่นครึ่งช้อนชาในน้ำอุ่น ๑ แก้วต้องมั่นใจว่าเด็กบ้วนคอได) วันละหลายๆ ครั้ง
  • งดอาหารเผ็ด หรืออาหารเป็นกรดเพราะจะทำให้ปวด
โรคนี้หายเองได้ใน 5-7 วัน
โรคแทรกซ้อนโรคมือเท้าปาก
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ coxsackievirus A16 ซึ่งหายเองใน 1 สัปดาห์ แต่หากเกิดจากเชื้อ enterovirus 71 โรคจะเป็นรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อน
  • ภาวะขาดน้ำ ต้องกระตุ้นเด็กให้รับน้ำให้เพียงพอ หากขาดน้ำรุนแรงจะต้องได้รับน้ำเกลือ
  • มีการติดเชื้อซ้ำบริเวณที่เป็นแผล
  • อาจจะเกิดชักเนื่องจากไข้สูง ต้องเช็ดตัวเวลามีไข้และรับประทานยาลดไข้
  • อาจจะเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเส
  • สมองอักเสบได้ ผู้ป่วยจะเกิดอาการ อาเจียน ซึม และชัก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหาย
การป้องกันโรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปากจะติดต่อจากคนสู่คนโดยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย รวมทั้งน้ำจากตุ่ม และอุจาระ การลดความเสี่ยงของการติดต่อทำได้โดย
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับเด็กที่ป่วย
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังเตรียมอาหาร
  • ล้างมือหลังจากเข้าห้องน้ำ
  • ล้างมือก่อนและหลังป้อนนมให้เด็ก
  • ใช้ช้อนกลางและหลีกเลี่ยงการใช้แก้วน้ำหรือหลอดดูดน้ำร่วมกัน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย สวมถุงมือเมื่อจะทำแผลผู้ป่วย
  • ระมัดระวังการไอจามรดกันให้ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก
  • หลีกเลี่ยงที่มีคนมาก ไม่ควรนำเด็กเล็กไปในที่ชุมชนสาธารณที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากๆ เช่น สนามเด็กเล่นและห้างสรรพสินค้า ตลาด สระว่ายน้ำ
  • ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่มีการจับ่อย เช่นลูกบิด โทรศัพท์
  • ไม่แบ่งของเล่นกับเด็กปกติ
  • เด็กที่ป่วยให้หยุดเรียน ให้อยู่แต่บ้าน
  • ดูแลบ้าน โรงเรียน ให้สะอาดอยู่ตลอเวลา
โรคมือเท้าปากมีผลต่อคนตั้งครรภ์หรือไม่
โดยหลักแล้วคนตั้งครรภ์ไม่ควรจะใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคมือเท้าปาก เท่าที่มีหลักฐานคนตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อนี้จะไม่มีปัญหาต่อการตั้งครรภ์ เช่น แท้งหรือคลอดก่อนกำหนด สำหรับทารกที่เกิดจากคนท้องที่ติดเชื้อมือเท้าปากมักจะมีอาการน้อยและอาการไม่รุนแรง
การแยกผู้ป่วย
ระวังสิ่งขับถ่ายของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยในหอผู้ป่วยแม่และเด็กเกิดอาการเจ็บป่วยที่ บ่งชี้ว่าจะเป็นการติดเชื้อ enterovirus จะต้องระวังเรื่องสิ่งขับถ่ายอย่างเข้มงวด เพราะอาจทำให้ทารกติดเชื้อและเกิดอาการรุนแรงได้
ห้ามญาติหรือเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อ enterovirus เข้ามาในหอผู้ป่วยหรือหอเด็กแรกเกิด หรือห้ามเข้าใกล้ทารกหรือหญิงท้องแก่ใกล้คลอด
การทำลายเชื้อโรคมือเท้าปาก
ต้องทำลายเชื้อในน้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ ของผู้ป่วยอย่างรวดเร็วปลอดภัย ล้างทำความสะอาด หรือทำลายสิ่งของปนเปื้อน หลังสัมผัสสิ่งของปนเปื้อนหรือสิ่งขับถ่าย 
ควรพบแพทย์เมื่อไร
  • ไข้สูงรับประทานยาลดไข้แล้วไม่ลง
  • มีอาการเจ็บแผลในปาก จนกินอาหารและดื่มน้ำไม่ได้ มีภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ปัสสาวะออกน้อย ผิวแห้ง ปัสสาวะสีเข็ม
  • เด็กระสับกระส่าย
  • มีอาการชัก
  • แผลไม่หาย ตุ่มน้ำ กลายเป็นตุ่มหนองหรือพุพองจากการเกา ให้แพทย์พิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะรักษา
  • มีอาการปวดศีรษะมาก อาเจียนรุนแรง ไม่ค่อยรู้ตัว ชัก แขนขาอ่อนแรง หรือหายใจหอบเหนื่อย ควรส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
  • อาการไม่ดีขึ้นภายใน ๑ สัปดาห์ 

การป้องกันน้ำท่วม


1. การเตรียมพร้อมก่อนน้ำท่วม
การเตรียมพร้อมเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ไม่ควรประมาทว่าจะไม่เกิดน้ำท่วม
โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีประวัติน้ำท่วมมาก่อน หรือพื้นที่เสี่ยง ควรเตรียมพร้อม ดังนี้
1. ติดตามข่าวและสถานการณ์น้ำท่วมอย่างสม่ำเสมอ
2. เตรียมน้ำสะอาด อาหาร อาหารกระป๋อง ยาที่จำเป็นต่างๆ เช่น ยาลดไข้
ยาหยอดตา ยาใส่แผล ผงน้ำตาลเกลือแร่ ยาประจำตัวสำหรับผู้ที่มีโรค
ประจำตัว อุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น อุปกรณ์การสื่อสารพร้อมแบตเตอรี่สำรอง
อุปกรณ์ชูชีพ ไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย เทียนไข ไม้ขีดไฟ ถุงขยะ หรือ
ถุงพลาสติกให้เพียงพอ ให้สามารถช่วยตนเองได้ 5 - 7 วัน
3. ศึกษาแผนปฏิบัติในกรณีฉุกเฉินของชุมชน สัญญาณต่างๆ การติดต่อ
การเตือนภัย เส้นทางการอพยพ และสถานที่ตั้งที่พักฉุกเฉินหรือศูนย์อพยพ
4. เตรียมช่องทางติดต่อกับหน่วยงานในท้องถิ่น ชุมชน สำหรับความต้องการ
ช่วยเหลือกรณีพิเศษ เช่น เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการ
5. หากมีสัตว์เลี้ยง ให้เตรียมสิ่งของจำเป็นสำหรับการดูแลสัตว์ เช่น
อาหาร พื้นที่สำหรับสัตว์ รวมทั้งการป้องกันโรคที่อาจเกิดจากสัตว์สู่คน
2. น้ำดื่ม น้ำใช้สะอาด
การทำน้ำดื่ม น้ำใช้ให้สะอาด
1. ต้มให้เดือดนาน 5 นาที เพื่อทำลายเชื้อโรคในน้ำ และช่วยทำลายความกระด้างของน้ำได้
น้ำที่นำมาต้มควรเป็นน้ำที่ใสสะอาดผ่านการกรองหรือทำให้ตกตะกอนแล้ว
2. ใช้สารส้มกวนในน้ำ สังเกตตะกอนในน้ำเริ่มจับตัว นำสารส้มออกใช้มือเปล่า
กวนน้ำต่ออีก 1-2 นาที ตั้งทิ้งไว้จนตกตะกอน ใช้สายยางจุ่มไปที่ก้นภาชนะบริเวณที่
เกิดตะกอน ดูดตะกอนออกจนหมด เหลือแต่น้ำใส เติมคลอรีนตามปริมาณและ
วิธีการที่กำหนดก่อนการนำไปใช้
3. การใช้คลอรีน เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำ สามารถทำได้โดย
- คลอรีนชนิดผง ผสมผงปูนคลอรีน 60% ในอัตราส่วนคลอรีน ½ ช้อนชา
ในน้ำ 1 แก้ว คนให้เข้ากันทิ้งไว้ให้ตกตะกอน รินเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำใสผสมในน้ำ
สะอาด 10 ปี๊บ ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีก่อนนำไปใช้
- คลอรีนชนิดเม็ด มีหลายขนาด เช่น ขนาด 2.5 กรัม 3 กรัม
หรือ 5 กรัมต่อเม็ด ให้ผสมน้ำในสัดส่วนตามฉลากที่ระบุไว้ข้างกระป๋อง
- คลอรีนชนิดน้ำ ใช้หยดลงในน้ำ 1-2 หยดต่อน้ำ 1 ลิตร
4. ปิดฝาภาชนะใส่น้ำให้มิดชิด และจัดให้มีภาชนะที่สะอาดสำหรับตักน้ำ
ในกรณีใช้น้ำดื่มบรรจุขวด จะต้องดูตรา เครื่องหมาย อย. (ก่อนดื่ม ให้สังเกตความ
สะอาดของน้ำภายในขวด ว่ามีสิ่งปลอมปนหรือไม่) ควรทำลายขวด ภาชนะบรรจุ
โดยทุบ บีบให้เล็กลง ก่อนนำไปทิ้งในถุงดำ เพื่อง่ายและสะดวกต่อการนำไปกำจัด