วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันลอยกระทง 28 พฤศจิกายน 2556


วันลอยกระทง (Loi Krathong Festival) ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

ลอยกระทง 2555

วันลอยกระทง
วันลอยกระทง
ประวัติการลอยกระทง ประวัติวันลอยกระทง
วันลอยกระทง การ ลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท อันที่จริงลอยกระทงเป็นประเพณีขอขมาธรรมชาติมาแต่ดึกดำบรรพ์ เพราะชาวบ้านทั่วไปรู้จากประสบการณ์ว่า ถึงเดือนสิบเอ็ด (หรือราวเดือนตุลาคม) น้ำจะขึ้นนองหลาก,พอถึงเดือนสิบสอง (หรือราวเดือนพฤศจิกายน) น้ำจะทรงตัวคือไม่ขึ้นไม่ลง,ครั้นเดือนอ้าย (หรือราวเดือนธันวาคม) ต่อเดือนยี่ (หรือราวเดือนมกราคม) น้ำจะลดลง
วันลอยกระทง
วันลอยกระทง
คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป วันลอยกระทง
มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมะทายะ
นะทิยา ปุเลเนฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ
อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังฆวัตตะตุ
กิจกรรมวันลอยกระทง
  1. นำกระทงไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง หรือตามแหล่งน้ำที่มีการจัดพิธี
  2. ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ในวันลอยกระทง เช่น การประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ การละเล่นพื้นเมือง เช่น รำวงเพลงเรือ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย
  3. จัดนิทรรศการ หรือพิธีลอยกระทง เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ประเพณีไทย
  4. จัดรณรงค์ให้มีการใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำกระทง เพื่อไม่ให้เกิดมลภาวะแก่แม่น้ำลำคลอง
    วันลอยกระทง
เหตุผลในการลอยกระทง
  1. เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทและบูชาเทพเจ้า ตามคติความเชื่อ
  2. เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้ มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา
  3. เพื่อรู้ถึงคุณค่าของน้ำหรือแม่น้ำลำคลอง อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต
การลอยกระทงในปัจจุบัน
การ ลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 1 2 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วย และดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้ เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวังพร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้ทำกระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ
การลอยกระทงของชาวเหนือและอีสาน
การลอยกระทงของชาวเหนือ (ยี่เป็ง)
การลอยกระทงของชาวเหนือ นิยมทำกันในเดือนยี่เป็ง (คือเดือนยี่หรือเดือนสอง เเร็วกว่าของเรา 2 เดือน) เพื่อบูชาพระอุปคุตต์ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเล ลึกหรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า
ยี่เป็ง
การลอยกระทงในภาคอีสาน เรียกว่าเทศกาลไหลเรือไฟ
จัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ในจังหวัดนครพนม โดยการนำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเป็นรูปพญานาคและรูปอื่น ๆ ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำโขงดูสวยงามตระการตา

27 พฤศจิกายน วันสาธารณสุขแห่งชาติ


วันสาธารณสุขแห่งชาติทุกวันที่ 27 พฤศจิกายน ของทุกปี

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2461 พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้รวมกองบัญชาการ กองสุขศึกษา กองสาธารณสุข กองยาเสพติดให้โทษ กองโอสถศาลารัฐบาล กองบุราภิบาล เข้าด้วยกัน แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น กรมสาธารณสุข และต่อมาจึงเปลี่ยนเป็น กระทรวงสาธารณสุข จนมาถึงปัจจุบัน อีกทั้งทางราชการยังได้กำหนด ให้วันที่ 27 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันสาธารณสุขด้วย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดตั้งกรมสาธารณสุขขึ้นในกระทรวงมหาดไทยแทนกรมประชาภิบาล เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2461 โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทรเป็นอธิบดีกรมสาธารณสุข องค์แรก นับเป็นวาระแรกที่มีการใช้คำว่า “สาธารณสุข” จึงถือว่า วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น “วันสถาปนาการสาธารณสุข”
เดิมทีในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยยังคงมีกิจการ ทางด้านการแพทย์ แบ่งออกเป็นหลายฝ่าย เช่น กองบัญชาการ กองสุขศึกษา กองสาธารณสุข กองยาเสพติดให้โทษ กองโอสถศาลารัฐบาล กองบุราภิบาล ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกระทรวงมหาดไทยมีความประสงค์ที่จะปรับปรุง กิจการของกรมพยาบาล ให้กว้างขวาง โดยการขอพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนจากกรมประชาภิบาล มาเป็นกรมสาธารณสุข ซึ่งพระองค์ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้สามารถจัดตั้งได้ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 นอกจากนี้พระองค์ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นชัยนาทนเรนทร อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย เป็นอธิบดีกรมสาธารณสุข อยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2485 จึงได้มีการสถาปนากรมสาธารณสุขขึ้น เป็นกระทรวงสาธารณสุข โดยถือเอาวันที่ 10 มีนาคม เป็นวันสถาปนา “กระทรวงสาธารณสุข”
เครื่องหมายของกระทรวงสาธารณสุข
เมื่อได้จัดตั้งกระทรวงสาธารณสุข ขึ้นแล้วทางราชการได้กำหนดรูปคบเพลิงมีปีก และมีงูพันคบเพลิง เป็นเครื่องหมายของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีเครื่องหมายที่แสดงถึงอาชีพ อยู่ 2 ชนิด คือ
1. คธากับงูของเอสกูลาปิอุส (Esculapius) เทพเจ้า แห่งแพทย์สมัยกรีก
2. ไม้ศักดิ์สิทธิ์ หรือ Cadkuccus ของเทพเจ้าอะพอลโล (Appollo)
คธาของเอสกูลาปิอุส ซึ่งมีงูพันอยู่โดยรอบนั้น แพทยสมาคมอเมริกัน ได้นำมาใช้เป็นเครื่องหมายประจำสมาคมอยู่แล้ว ตำนานของเครื่องหมายนี้มีว่า ในสมัยประมาณ 1,200 ปี ก่อนคริสตกาล ในขณะที่เอสกูลาปิอุสกำลังทำการบำบัดโรค ให้แก่ผู้ป่วยรายหนึ่ง ซึ่งมีนามว่ากลอคุส (Glovcus) ภายในสถานที่ทำงาน ของเขานั้นมีงูตัวหนึ่งเลื้อยเข้ามา และขึ้นพันคธาของหมอ โดยการณ์ปรากฎเช่นนี้ จึงเป็นที่เชื่อถือกันในครั้งนั้นว่า งูตัวนั้นได้บันดาลให้หมอเอสกูลาปิอุสมีความเฉลียวฉลาด สามารถในการบำบัดโรคยิ่งนัก เพราะในสมัยโบราณนับถือว่า งูเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบันดาลให้เกิด ความมั่งคั่งสมบูรณ์ของบ้านเมืองและทำให้โรคต่างๆ หายได้ งูในกาลก่อนจึงนับว่าเป็น เครื่องหมายแห่งสติปัญญา ความเฉลียวฉลาด อำนาจและสุขภาพอันดี ส่วนคธานั้นคือ เครื่องหมายแห่งการป้องกันภัยต่างๆ และเป็นประดุจเครื่องนำ และช่วยเหลือสำหรับผู้ที่ศึกษา ในทางวิทยาศาสตร์
ไม้ศักดิ์สิทธิ์ (Caduccus) ไม้คฑาศักดิ์สิทธิ์ มีลักษณะเป็นคธาเกลี้ยง มีปีก และมีงูพันอยู่ 2 ตัว มีตำนานว่า เมื่อประมาณ 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล วันหนึ่งในขณะที่ เทพเจ้าอะพอลโลกำลังท่องเที่ยว อยู่ในดาร์คาเดีย (Arcadia) ได้พบงู 2 ตัว กำลังกัดกันอยู่ โดยมิประสงค์จะให้ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์นี้ต่อสู้ และประหัตประหารกัน อะพอลโลจึงได้ใช้ไม้เท้าที่ถือนั้น แยกงูทั้งสอง ออกจากกันเสีย ไม้เท้านั้น จึงกลายมาเป็นเครื่องหมายแห่งความสงบ ตั้งแต่นั้นมา ภายหลังได้มีผู้เติมปีก 2 ปีก ติดกับหัวไม้เท้านั้น ซึ่งแสดงถึง ความว่องไว และปราดเปรียว
เครื่องหมายคฑามีปีกและงูพัน 2 ตัวนี้เริ่มนำมาใช้เป็นเครื่องหมาย ของผู้มีวิชาชีพแพทย์ โดยความหมายของคธา มีดังนี้
1) ตัวคฑาเปรียบด้วย ตัวอำนาจ
2) งูเปรียบด้วยความรอบรู้
3) ปีกสองปีกเปรียบด้วย ความขยันขันแข็ง คล่องแคล่ว ทะมัดทะแมง
4) ความหมายโดยรวม ของไม้คธานี้ คือ เครื่องหมายบอกคุณลักษณะแห่งสุขภาพดี ของร่างกาย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : sanook

วันคนพิการสากล 3 ธันวาคม


           องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ ๓ ธันวาคม ของทุกปี เป็น "วันคนพิการสากล" เพื่อเป็นการระลึกถึงวันครบรอบที่สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติมีมติรับแผนปฏิบัติการโลกว่าด้วยเรื่องคนพิการ และได้ให้ประเทศสมาชิกร่วมจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเข้าใจของสังคมต่อคนพิการ และยอมรับให้เข้าร่วมกิจกรรมในด้านต่างๆ และประเทศไทยในฐานะองค์การสมาชิก โดยคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการได้มีการขานรับวันคนพิการสากลและกีฬาเฟสปิกเกมส์ โดยจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคนพิการในด้านต่างๆ ทั่วประเทศ วันคนพิการสากล มีเป้าหมายเพื่อสร้างกระแสความเข้าใจต่อคนพิการและระดมการสนับสนุนแก่คนพิการเพื่อศักดิ์ศรีและความเป็นอยู่ของคนพิการ นอกจากนี้ก็ยังช่วยสร้างความตื่นตัวของประชาชนต่อคนพิการในทุกๆ ด้าน  ทั้งด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง  
ความเป็นมาของวันคนพิการสากล
           นับตั้งแต่องค์การสหประชาชาติ ประกาศให้ปี พุทธศักราช ๒๕๒๖-๒๕๓๕ เป็นทศวรรษคนพิการแห่งสหประชาชาติ หรือ UNITED NATION DECADE OF DISABLED PERSONS,1983-1992. ยังผลให้ประเทศต่างๆ รวมไปถึงองค์การต่างๆในทุกภูมิภาคทั่วโลก ได้ตื่นตัวในการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถถาพคนพิการอย่างกว้างขวาง มีการติดต่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างประเทศองค์การสมาชิกอย่างเป็นรูปธรรม การเสนอแนะประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ให้ใช้ทรัพยากรเพื่อประโยชน์สูงสุง การป้องกันความพิการ การสนองความต้องการของคนพิการ การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ในทุกรูปแบบต่อประเทศกำลังพัฒนา ตลอดจนรณรงค์เรื่องสิทธิ และความเท่าเทียมกันในสังคนเพื่อคนพิการ รวมไปถึงมรการจัดกิจกรรมคนพิการ เพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนา ทักษะการช่วยตัวเอง การเพิ่มพุนสมรรถภาพทางกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมของคนพิการ และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีร่วมกัน ระหว่างคนพิการและคนปกติ
          ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิค หรือ ESCAP ได้จัดให้มีสมัยการประชุมครั้งที่ ๔๘ ขึ้น  ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่ประชุมได้มีมติประกาศให้ปีพุทธศักราช ๒๕๓๖-๒๕๔๕ เป็นทศวรรษคนพิการภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค หรือรู้จักกันในนามสากลทั่วโลกว่า "Asian and Pacific Decade of Disabled Persons, 1993-2002" โดยมีจุดประสงค์หลักในการให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาคนพิการในทุกๆ ด้าน ทั่วทุกประเทศในแถบเอเชียและแปซิฟิค ทั้งในด้านการพัฒนาฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ส่งเสริมการฝึกอบรมอาชีพและจัดหาสถานประกอบการรองรับแรงงานคนพิการ สนับสนุนด้านการศึกษา ตลอดจนผลักดันให้คนพิการมีส่วนร่วมในสังคมอย่างเต็มที่ ซึ่งก็จะช่วยให้คนพิการมีโอกาสและมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันกับบุคคลทั่วไปในสังคม
           จากการสำรวจทางสถิติขององค์การสหประชาชาติพบว่า กลุ่มประเทศแถบเอเชีย และแปซิฟิคนี้มีจำนวนประชากรที่เป็นบุคคลพิการมากที่สุดในโลก ทั้งนี้สาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจากปัญหาของความยากจน นอกเหนือจากนั้นก็เป็นเพราะสาเหตุของความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติ อุบัติเหตุและผลของสงคราม และด้วยความพิการทุพพลภาพนี้เองที่เริ่มแพร่มากขึ้นทุกขณะ ทางองค์การสหประชาชาติจึงเร่งตระหนักที่หาหนทางวิธีการแก้ไขป้องกันโดยเร็ว ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะลดจำนวนของผู้พิการลงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยทางคณะกรรมธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค ก็ได้มีแนวนโยบายที่จะเร่งผลักดันแหนส่งเสริมคนพิการให้อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของแต่ละชาติ ตั้งคณะกรรมการประสานงานให้ความร่วมมือช่วยเหลือคนพิการและองค์การต่างๆ ที่จะร่วมมือสร้างชีวิตคนพิการให้ดีขึ้น ทั้งในระดับชาติและระดับสากล ตลอดจนเร่งพัฒนาส่งเสริมให้คนพิการทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้ได้รับการฟื้นฟูบำบัดรักษา การศึกษา การฝึกฝีมือและอาชีพหรือแม้กระทั่งมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ทั้งทางการกีฬา วัฒนธรรมประเพณีและสิ่งแวดล้อม
             องค์การสหประชาติได้ส่งเสริมคนพิการในด้านต่างๆ มากมายด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ส่งเสริมให้คนพิการได้มีโอกาสอยู่ร่วมกับคนในสังคมและมีโอกาสได้รับการศึกษาในด้านต่างๆ เช่นเดียวกับคนปกติ และให้คนพิการมีส่วนร่วมในกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายซึ่งสามารถจำแนกออกมาในด้านต่างๆ อาทิเช่น ในด้านสังคม  คนพิการสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมต่างๆ ได้สามารถช่วยเหลือตนเองได้  และทำตนไม่ให้เป็นภาระแก่คนในสังคมนั้น  ซึ่งนานาประชาชาติได้มอบ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้คนพิการได้ช่วยเหลือตนเอง เช่น การคิดค้นประดิษฐ์หุ่นยนต์สุนัขเพื่อช่วยคนตาบอดในการเดินทาง หรือการประดิษฐ์เครื่องช่วยฟังสำหรับคนหูหนวก เป็นต้น ซึ่งช่วยให้คนพิการเหล่านั้นสามารถช่วยเหลือตนเองได้ รวมทั้งประดิษฐ์ขาเทียมเพื่อคนพิการทางขาอีกด้วย
              นอกจากงานในด้านสังคมแล้ว ในด้านอาชีพก็เช่นกัน นานาประชาชาติได้เล็งเห็นความสำคัญในการประกอบอาชีพของคนพิการด้วย เพื่อให้คนพิการได้นำเงินมาจุนเจือตนเองและครอบครัว จึงได้สนับสนุนคนพิการในด้านต่างๆ เช่น งานหัตถกรรม เป็นต้น ขายล๊อตเตอรี่ พนักงานรับโทรศัพท์ งานช่างต่างๆ เช่น ช่างไม้ ช่างกระจก เป็นต้น ทำให้คนพิการได้มีโอกาสประกอบอาชีพต่างๆ ได้มากขึ้น ส่วนงานที่เกี่ยวกับการศึกษานั้นนานาชาติก็ส่งเสริมได้เช่นเดียวกัน เพื่อให้คนพิการได้นำเอาวิชาความรู้ไปใช้ในด้านการประกอบอาชีพและป้องกันการถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพ ซึ่งได้ให้โอกาสในการศึกษาของคนพิการในด้านต่างๆ เช่น การให้ทุนเกี่ยวกับการศึกษาแก่คนพิการ และการผลิตอุปกรณ์ทางการศึกษาแก่คนพิการต่างๆ เช่น การผลิตเครื่องเรียงสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์และสแกนเนอร์ของคนตาบอด การผลิตลูกคิดสเลตและสไตลัสสำหรับคนตาบอด ทำให้คนตาบอดศึกษาหาความรู้ได้สะดวกขึ้น นอกจากนั้นแล้วยังมีการจัดแปลหนังสือเรียนของคนปกติมาพิมพ์เป็นหนังสือเรียนเป็นตัวอักษรเบลล์แก่คนตาบอดอีกด้วย ทางด้านกีฬาก็เช่นกันนานาประชาชาติก็ได้ส่งเสริมและให้โอกาสเพื่อให้คนพิการได้แสดงความสามารถในด้านกีฬาเช่นกัน ตั้งแต่การแข่งขันกีฬาระดับประเทศ ระดับโลกตามลำดับ ซึ่งนานาประชาชาติได้ให้โอกาสในด้านกีฬาต่างๆ เช่น การจัดงานแข่งขันเฟสปิคเกมส์ การว่ายน้ำคนพิการ วิ่งมาราธอนคนพิการ
   
              เฟสปิกเกมส์ (Fespic Games-FarEast and South Pacific Games for the Disabled) เป็นกีฬาของคนพิการ ในประเทศที่อยู่ตะวันออกไกลและแปซิฟิกตอนใต้ ได้จัดเป็นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ๒๕๑๘ มีผู้เข้าร่วมแข่งขัน ๙๗๓ คน จาก ๑๘ ประเทศ ต่อมาในปี ๒๕๓๒ ประเทศญี่ปุ่นได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเฟสปิกเกมส์ ครั้งที่ ๕ อีก โดยมีผู้เข้าร่วมแข่งขันเพิ่มมากขึ้นเป็น ๑๗๐๐ คน จาก ๔๑ ประเทศ ความสำเร็จในการจัดครั้งนั้น เป็นผลให้รัฐบาลของประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันตระหนักว่า การเล่นกีฬาเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนี่ง ที่ช่วยให้คนพิการได้เพิ่มประสบการณ์ชีวิตด้านสังคม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจัดการฝึกอบรมผู้นำด้านกีฬาและผู้ฝึกสอน เพื่อส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ด้านกีฬาของคนพิการ 
บรรณานุกรม 
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.งานวันคนพิการ ครั้งที่ ๓๓. กรุงเทพฯ : สมชายการพิมพ์, ๒๕๔๐.

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันเบาหวานโลก 14 พฤศจิกายน

 
         14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น “วันเบาหวานโลก” ที่ สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ ร่วมกับ องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้
 
         สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กำหนดคำขวัญต่อต้านเบาหวาน ประจำปี 2553 ไว้ว่า “ปกป้องคนไทย พ้นภัยเบาหวาน” เสมือนเป็นการเพิ่มการดูแลรักษาตนเอง ผ่านการเรียนรู้ รวมทั้งตระหนักถึงภัยคุกคามที่ร้ายแรงของเบาหวาน และการหลีกเลี่ยงหรือชะลอการเกิดเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน
 
         “เบาหวาน” เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อน เป็นเหมือนโรคระบาดที่กำลังมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยเฉพาะในสังคมที่ยังขาดความรู้และความตื่นตัวโรคเบาหวาน สหพันธ์เบาหวานานาชาติ คำนวณว่าปี 2550 มีผู้เป็นเบาหวานประมาณ 246 ล้านคน อีก 16 ปีข้างหน้า คาดว่าจะมีผู้ที่เป็นเบาหวานสูงถึง 380 ล้านคน
 
เบาหวาน
 
อาการเบื้องต้นของเบาหวาน
  1. ปวดปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น
  2. ปัสสาวะมีมดตอมปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยขึ้นกระหายน้ำ
  3. ดื่มน้ำในปริมาณมากๆ ต่อครั้ง
  4. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง เบื่ออาหาร
  5. น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ
  6. ติดเชื้อง่าย และบ่อยกว่าปกติ เช่น ติดเชื้อทางผิวหนัง และกระเพาะอาหาร สังเกตได้จากเมื่อเป็นแผลแล้วจะหายยาก
  7. สายตาพร่ามัว มองไม่ชัด
  8. มีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า ไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องจากเบาหวานจะทำลายเส้นประสาท ทำให้การรับรู้ความรู้สึกลดน้อยลง
 
ปัจจัยเสี่ยงเป็นเบาหวาน
  1. ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ระหว่าง 110 และ 125 มก./ตล. ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง (หรือภาวะก่อนเป็นเบาหวาน)
  2. คนที่อายุเกิน 45 ปี ควรได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือด
  3. กรรมพันธุ์ ในครอบครัวมีคนเป็นเบาหวาน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง
  4. เชื้อชาติ
  5. การออกกำลังกายน้อย ยิ่งมีความเสี่ยงมาก การออกกำลังกายช่วยให้ร่างกายได้ใช้น้ำตาล ทำให้เซลล์มีความไวต่อการใช้อินซูลิน ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
  6. ภาวะน้ำหนักเกิน อ้วน
  7. เบาหวานตอนตั้งครรภ์ ตรวจพบเบาหวานตอนตั้งครรภ์ หรือคลอดลูกที่มีน้ำหนักมากกว่า 4 กก. มีความเสี่ยงต่อเบาหวานมากขึ้น
 
ป้องกันเบาหวาน
  1. ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  2. ควบคุมอาหารให้มีความสมดุล เช่น หลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ ไข่แดง ฯลฯ
  3. ควรตรวจเช็กระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ โดยปรึกษาแพทย์
  4. ยาบางชนิด หรือยาสมุนไพร อาจมีผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด จะต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา หรือสมุนไพร
 
 
สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักคือ “เบาหวานควบคุมได้......เพียงรู้และเข้าใจ”